ความสำคัญของดวงอาทิตย์
• ภาพรวมของดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์
มิได้ไร้ญาติขาดมิตร ก่อตัวขึ้นครั้งแรก มีดาวนับร้อยดวงเป็นกลุ่มกระจุกดาว (Star
cluster) ภายหลังได้กระจัดกระจาย ห่างไกลกันออกไป
จึงเหลือเพียงดวงเดียว ทำหน้าที่เป็น ดาวศูนย์กลางระบบสุริยะ
• ต้นกำเนิดครอบครัวดวงอาทิตย์
เมื่อ
4.6 พันล้านปี ดวงอาทิตย์ได้ก่อขึ้น ท่ามกลางกลุ่มกระจุกดาว นับร้อยดวง
คล้ายครอบครัวใหญ่ โดยหมุนโคจรตามกันไปทั้งกลุ่ม ในทางช้างเผือก (Milky
way galaxy) ต่อมากลุ่มดาว เหล่านั้น เริ่มถอยห่างไกลกันออกไปและ
บางดวงอ่อนแรงลง บางดวงแปรขบวนเปลี่ยนทิศทาง จากสนามแรงโน้มถ่วง
ซึ่งเป็นกลไกในกาแล็คซี่ (Galaxy) รูปแบบการโคจร
จึงกระจัดกระจายดวงอาทิตย์จึงห่างไกลจากดวงดวงอื่นๆจากกลุ่มเดียวกันขณะเดียวกัน
โครงสร้างการก่อตัวขึ้นของดวงอาทิตย์วัตถุดิบมวลสาร (Mass) ส่วนหนึ่งได้จากแหล่งกำเนิดซึ่งประกอบด้วย
กลุ่มรังสี -ก๊าซ ฝุ่นหมอก ที่เรียกว่า เนบิวล่า (Nebula) เหลือจากการรวมตัวของดวงอาทิตย์
ได้ถูกแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์เองสะสมในรัศมีกว้างใหญ่ ซึ่งหมุนเป็นแผ่นจานกลม (Disk)
รอบๆต่างเริ่มรวมตัวกันไปด้วยจากระยะเวลายาวนานมวลสสารเหล่านั้นกลายเป็นก้อนกลม
ใหญ่โตขึ้นตามลำดับ เป็น ดาวเคราะห์หิน(Terrestrial Planets) ดาวเคราะห์ก๊าซ (Jovian Planets) และ
ดาวเคราะห์น้อยต่างๆ ในแถบดาวเคราะห์น้อย
• ความเหมาะเจาะ สร้างเขตดำรงชีพ
ดวงอาทิตย์
เป็นแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ แหล่งเดียวในระบบสุริยะ โดยแผ่รังสีพลังงานความร้อน
หล่อเลี้ยงไปทั่วทั้งระบบสุริยะด้วยความสมดุลของพลังงานความร้อนระยะเวลาและระยะห่างจากวงโคจรของดาวเคราะห์ต่างๆ
ในระบบสุริยะ จึงเกิดกลไกเฉพาะอย่างบนดาวเคราะห์แต่ละดวง โดยบนโลก
ได้เกิดชั้นบรรยากาศ มีน้ำ มีอากาศ จนเกิดระบบชีวิตขึ้น เหล่านี้เป็นอิทธิพล จากดวงอาทิตย์
เอื้อให้บรรลุผลสมบูรณ์ เพราะโลกและดวงอาทิตย์ มีระยะวงโคจรที่มี ความพอดีกัน
ปัจจุบันเรียกว่า พื้นทีเขตดำรงชีพ (Habitable Zone)
• กลไกการทำงาน ของดวงอาทิตย์
สภาพแวดล้อมบนดวงอาทิตย์ไม่ได้เงียบสงบมีเสียงระเบิดดังกึกก้องจากกลไกการทำงานเผาผลาญการหลอมละลายเชื้อเพลิงท่ามกลางความร้อนสูงตลอดเวลาบนผิวพื้นเดือดเป็นฟองคล้ายจุดดอกดวง
(Granule)
จากกลไกของเขตชั้นนำพาความร้อน (Convection Zone) ซึ่งอยู่ด้านล่างภายในดวงอาทิตย์
ความวุ่นวาย
โกลาหลบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ ไม่จบสิ้น
จากการฟาดไปมาของเส้นสนามแม่เหล็กเกิดเปลวไฟขนาดยักษ์ (Prominences)
เกิดเพลิงโชติช่วงอย่างรุนแรงชั่วขณะ ทันทีทันใดเกิดการลุกจ้ามโหฬาร
(Solar flares)ส่งผลให้ พวยพุ่งมวลโคโรนัล (Coronal
mass ejection) ออกมาใหญ่โตของมวลสารนับร้อยล้านตัน
เป็นสาเหตุหนึ่งจุดชนวนให้เกิด พายุสุริยะ (Solar wind) พัดออกมายังสภาพแวดล้อมอวกาศ
ทั้งหมดนี้ คือ พฤติกรรมของดวงอาทิตย์ (Solar Activity) มีที่มาจากสาเหตุเกิด
จุดบนดวงอาทิตย์ (Sunspot)
• ผลกระทบพายุสริยะ ต่อโลก
การเกิดพายุสุริยะ
ส่งผลกระทบต่อระบบสุริยะ (Solar system) อย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้
โดยเฉพาะโลก แม้ว่าโลกจะมี ขอบเขตสนามแม่เหล็กโลก (Magnetosphere) ค่อยปกป้องไว้ก็ตาม แต่บางส่วน ของพายุสุริยะจะสามารถหลุดรอด ผ่านเข้ามา
ในชั้นบรรยากาศโลก (Earth atmosphere) ได้
จึงได้เกิดปรากฎการณ์ ออโรรา (Aurora) บริเวณเขตขั้วโลกเหนือ
และขั้วโลกใต้เสมอ
ทันทีที่เกิดพายุสุริยะ
จากดวงอาทิตย์ กระแสพายุสุริยะจะใช้เวลาเดินทางสู่โลก ประมาณ 24-48 ชั่วโมง
สามารถคาดการณ์ผลกระทบต่อ ชีวิตประจำบนโลกได้ ตามมาตรหลักเกณฑ์
ที่สำคัญต่างๆดังนี้
1.
มาตรแสดงผลกระทบ ค่ารบกวน ธรณีวิทยาของสนามแม่เหล็กโลก จากพายุสริยะ (Geomagnetic
Storms)
2.
มาตรแสดงระดับสูง ของรังสีที่เกิดขึ้น เมื่ออนุภาคพลังงานสูงเพิ่มขึ้น (Solar
Radiation Storms)
3.
มาตรแสดง การรบกวนชั้นบรรยากาศ จากการแผ่รังสี X-ray จากดวงอาทิตย์
(Radio Blackouts)
• ถ้าดวงอาทิตย์ หายไป
อย่างไรก็ตาม
ดวงอาทิตย์ มีความสำคัญต่อทุกสิ่งในระบบสุริยะ หากปราศจาก ดวงอาทิตย์
ก็จะไม่มีระบบชีวิตรอดดวงอาทิตย์เป็นระบบธรรมชาติของจักรวาล
ถูกออกแบบไว้สนับสนับสนนุนความอยู่รอดของชีวิต ค่อยส่งความร้อนส่องแสงสว่าง
สร้างแรงดึงดูดเกาะเกี่ยว ระบบสุริยะไว้ด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว
สมมุติถ้าดวงอาทิตย์หายไป
ทันทีโลกและระบบสุริยะจะมืดสนิท
ความร้อนความอบอุ่นจะหายไปภายในไม่กี่ชั่วโมงความหนาวเย็นมาแท้ที่
โลกทั้งใบจะกลายเป็นน้ำแข็งภายในไม่กี่วัน สภาพแวดล้อมอุณหภูมิต่ำ -200 องศา C ทำให้พืชล้มตายจากความหนาวเย็น ปราศจากการสังเคราะห์แสง สัตว์ต่างๆ
และมนุษย์ก็ขาดแคลนอาหาร ขณะเดียวกัน วงโคจรของดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย
และสิ่งต่างๆในอวกาศ เริ่มเปิดฉากพุ่งชนกัน เพราะปราศจากแรงดึงดูดจากจุดศูนย์
ของระบบสุริยะ เป็นการล่มสลายทั้งระบบสุริยะ ภายในเวลาอันสั้น
**คำเตือน**
ห้ามมองดูดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่า หรือใช้อุปกรณ์ที่ไม่มาตรฐานโดยเด็ดขาด
ควรใช้อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับ
ดูดวงอาทิตย์โดยเฉพาะเท่านั้น มิฉะนั้นจะทำให้ตาบอดสนิทได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น